ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur
De La Loubere) อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทย
สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230
ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า
คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง
โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์
จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์
ได้ทรงประดิษฐ์ บุหรี่ก้นป้านขึ้น
เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการผลิตขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษเป็นเจ้าของ ได้เปิดดำเนินการเป็นบริษัทแรก ใน พ.ศ. 2460 การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี
และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่ง
ใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ
จำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ
และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น รัฐบาลได้ซื้อกิจการของ บริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และ บริษัทบริติชอเมนิกันโทแบกโค เพิ่มขึ้น
แล้วรวมกิจการทั้งหมดเข้าด้วยกัน และดำเนินการภายใต้ชื่อว่า
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
มาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น